การกำหนดรายละเอียดสินค้า

การกำหนดรายละเอียดสินค้า

รายละเอียดในหัวข้อนี้จะประกอบไปด้วย

  • Product Title
  • Product Categories
  • Product Tags
  • Feature Image
  • Product Gallery
  • Product Description

Product Title

ชื่อสินค้า

เป็นส่วนสำคัญในการเข้าถึงสินค้าของผู้ซื้อ ควรตั้งชื่อให้กระชับ เข้าใจง่าย และแสดงถึงสินค้านั้นๆว่า ท่านต้องการขายอะไร โดยแบบแผนการตั้งชื่อนั้น ควรมีรูปแบบตามนี้

< หมวดหมู่สินค้า> < ยี่ห้อ > <รุ่น > <คุณลักษณะสินค้า> 

ยกตัวอย่างเช่น

  • กล่องECU Haltech รุ่น Haltech Elite 2000
  • เกจวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง Autometer รุ่น Phantom ขนาด 52 mm.

จะเห็นได้ว่า การเรียงลำดับความสำคัญของชื่อสินค้าที่ดีนั้น ทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงสินค้าได้ง่าย อีกทั้งยังมีผลให้ Search Engine เห็นสินค้าของท่านได้ง่ายขึ้นด้วย

Product Categories

หมวดหมู่สินค้า

ในเว็บไซต์ มีการกำหนดหมวดหมู่สินค้าไว้มากมายให้ท่านได้เลือกใช้ ซึ่งครอบคลุมสินค้าส่วนใหญ่ในตลาดยานยนต์ โดยท่านสามารถเลือกโดยการติ๊กถูก ในหัวข้อ Categories ทางด้านขวามือของจอ

หมวดหมู่สินค้าจะประกอบไปด้วย หมวดหมู่หลัก —> หมวดหมู่ย่อยอันดับ1 —> หมวดหมู่ย่อยอันดับ 2 —> … ถัดไปเรื่อยๆ ทั้งนี้การกำหนดหมวดหมู่ให้กับสินค้านั้น ท่านควรกำหนดให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น

สินค้าคือ เกจวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง จะเห็นได้ว่าหากไล่ตามหมวดหมู่ที่มีอยู่ จะมีโครงสร้างดังนี้
 ระบบไฟฟ้า > เกจและเซ็นเซอร์ > เกจวัดแรงดัน

หากเราจะทำการเลือกหมวดหมู่ให้ถูกต้อง จะต้องติ๊กถูกในเฉพาะหมวดหมู่ เกจวัดแรงดัน เป็นต้น โดยไม่ต้องทำการเลือกหมวดหมู่ ระบบไฟฟ้า , เกจและเซ็นเซอร์  เพิ่มเติม เนื่องจากเมื่อลูกค้าทำการเลือกดูสินค้าที่หมวดหมู่หลัก สินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ย่อยนั้นๆ จะปรากฎขึ้นมาด้วยนั่นเอง

Product Tags

กลุ่มชนิดสินค้า

เป็นการจัดกลุ่มสินค้า โดยอ้างอิงถึง คุณสมบัติ เดียวกันของสินค้าต่างชนิด

Feature Image

ภาพหน้าปกสินค้า

เป็นรูปภาพที่แสดงเป็นภาพแรกในการโชว์สินค้าในร้านค้า โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนในการแสดงผลคือ

  1. การแสดงผลในหน้า Catalog – เป็นการแสดงผลรูปภาพแบบ เล็ก ( Thumbnails ) โดยการแสดงผล ภาพจะถูก Crop ในอัตราส่วน 1:1
  2. การแสดงผลในหน้า Product  – เป็นการแสดงผลในหน้าหลักของสินค้า  เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ สามารถ ซูมได้

Product Gallery

แกลลอรี่สินค้า

รูปภาพอื่นๆของสินค้าที่ใช้ลงขาย ควรมีขนาดใกล้เคียงกับ Futured Image

Image size & Meta

ขนาดรูปภาพ

ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • มีขนาดของไฟล์ไม่เกิน 150 k
  • มีขนาดความกว้าง หรือ ความสูง ไม่เกิน 800 px
  • อัตราส่วนภาพ ควรมีขนาด 1 : 1

ข้อมูลรูปภาพ

หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Meta เป็นข้อมูลที่ฝังอยู่ภายในรูปภาพ ใช้เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ ทราบได้ว่า รูปภาพนี้สื่อถึงอะไร เป็นรูปอะไร มีความหมายว่าอย่างไร เป็นต้น


Product Description

รายละเอียดของสินค้า

มีความยืดหยุ่นในการใส่รายละเอียดของสินค้าค่อนข้างสูง ประกอบไปด้วยเครื่องใช้งานอย่างหลายหลาย รูปแบบการโพสต์นั้น คล้ายกับการใช้โปรแกรมเอกสารทั่วๆไป โดยท่านสามารถเลือกรูปแบบในการใส่ข้อความได้ตามที่ต้องการ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1. Visual – คือรูปแบบโปรแกรมเอกสารทั่วๆไป กำหนดรูปแบบอักษร Paragraph สี หรือรายละเอียดต่างๆได้ตามต้องการ
  2. Text – คือรูปแบบในลักษณะ HTML ซึ่งอนุญาติให้ใช้ tag ต่างๆได้ มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานทางด้านโปรแกรมในระดับหนึ่ง

การเรียงข้อความที่ดีนั้น ควรจะประกอบไปด้วย หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย และข้อความ โดยใช้ตัวอักษรต่างๆดังนี้

หัวข้อหลัก – ตัวอักษร h2
หัวข้อย่อย – ตัวอักษร h3
ข้อความ – ตัวอักษร Paragraph

สามารถใส่รูปภาพแทรกไว้ในข้อความได้ โดยการคลิ๊กที่ปุ่ม Add image ทางด้านบน และเลือกที่อยู่ของรูปภาพที่จะนำมาใช้งานได้ เช่น

  • upload – อัพโหลดรูปภาพจากไฟล์ในคอมพิวเตอร์ ขึ้นสู่เว็บไซต์ของเราโดยตรง
  • URL – การดึงรูปภาพจากเว็บไซต์อื่น หรือที่อยู่อื่นมาใช้งาน

รายละเอียดอย่างย่อของสินค้า (Short Description)

แนะนำให้ใส่ข้อความที่กระขับและเข้าใจง่าย เพื่อบ่งบอกคุณสมบัติเบื้องต้นให้ลูกค้าได้ตัดสินใจ อาจจัดเรียงข้อความสั้นๆ เป็นบรรทัด(ไม่ควรเกิน 6 บรรทัด) เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน เป็นต้น

Share this post

ใส่ความเห็น